Support
vpsteel
tel.02-106-5190 และ 1107, fax.02-106-5197
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

เรื่องของเหล็กเส้น ตอน1-2

วันที่: 2014-06-18 16:07:58.0view 724reply 0

เหล็กเส้นในงานก่อสร้าง แบ่งเป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ 

1. เหล็กกลม , Ronud Bar (RB)

 

เหล็กกลม ก็รูปร่างตามชื่อครับ คือ "มันกลม" ดูตามรูปเลย "เป็นเส้นกลม"  อธิบายไงดีหว่า.......

เหล็กกลม เราจะเรียกสั้น ๆ ว่า RB ย่อมาจาก Round Bar

เหล็กชนิดนี้จะมีมาตรฐานคุณภาพเรียกว่า "SR24"  

(เหมือนชื่อรุ่นคุณภาพ เกรดเอ เกรดบี ตู้นอน สปินเตอร์ ชั้น3 อะไรอย่างเนี้ย)

SR24 หมายความว่า เหล็กเส้นนี้สามารถรับแรงดึงได้มากที่สุดที่ 2400 ksc (มอก. 20-2527) 

(ถึงจุดครากน่ะแหละ , สำหรับ นศ.วิศวะ นี่แหละครับ คือ fy)

2400 ksc มันแรงเยอะขนาดไหนล่ะ?  ksc นี้มันหน่วยอะไร? รู้จักแต่ เซนติเมตร เมตร กิโลกรัม ? 

ksc มาจาก กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรครับ  ก็คือรับแรงดึกได้ 2400 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร

ไอ้กิโลกรัมต่อตารางเมตร มันเป็นพื้นที่ตรงไหน?  

มันเป็นพื้นที่หน้าตัดของเหล็กครับ ก็คือ ยิ่งเหล็กขนาดใหญ่ขึ้น พื้นที่หน้าตัดมากขึ้น ก็รับแรงได้มากขึ้น

ตะกี้พูดถึงจุดคราก มันคืออะไร?

เอ่อ อันนี้ถ้าอธิบาย มันจะยาว... ยากด้วย... เอาเป็นว่า...

เหล็กมัน รับแรงได้มากที่สุดที่จุดนี้ เกินจุดนี้ไป อันตราย เหล็กจะเสียรูป ตึกเสี่ยงที่จะพังนะครับ........

รับแรงดึง มันหมายถึงอะไร?

ยกตัวอย่างนะครับ เอาเหล็กเส้นนั้นมา ล็อกปลายข้างหนึ่งให้แน่น จนไม่หลุดแน่ๆ แล้วให้ดึงที่ปลายอีกข้างหนึ่ง

ดึงด้วยแรงมากเท่าไหร่เหล็กถึงเสียรูป นั้นแหละครับ คือแรงที่ผมหมายถึงข้างต้น (เสียรูป ไม่ใช่ ขาดนะครับ เพียงเหล็กเสียรูปเราก็ถือว่าเหล็กนั้นใช้ไม่ได้แล้ว แต่ถ้าอยากให้ขาดก็ต้องดึงต่อครับ เดี๋ยวเหล็กก็ขาด!)

แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าเหล็กเส้นไหน มีพื้นที่หน้าตัดเท่าไหร่?

มันเขียนบอกอยู่ข้างเหล็กเลยคร้าบ มีรายละเอียดดังนี้ ฟังๆ

RB6    เหล็กกลมที่หน้าตัด มี เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 mm. (หาพื้นที่หน้าตัดก็หาเองเน้อ)

RB9    เหล็กกลมที่หน้าตัด มี เส้นผ่านศูนย์กลาง 9 mm. 

 ตามรูปครับ มีทั้งคุณภาพ กับ ขนาดเหล็ก พิมพ์ติดอยู่ข้างเหล็กเลย

      

 

นอกจากนี้ยังมีเหล็กกลมอีกประเภทหนึ่งคือ เหล็กกลมรีดซ้ำ (มอก. 211-2520) เป็นเหล็กที่ได้จากการนำเศษเหล็กไปหลอมแล้วรีดออกมาใหม่ จะไม่ใช้สัญลักษณ์ SR24 แต่จะใช้ SRR24 แทนนะครับ เหล็กประเภทนี้ส่วนใหญ่นำไปใช้เป็นเหล็กปลอกเท่านั้นนะครับ (ขออภัยที่หารูปเจ้า SRR24 ให้ไม่ได้)

มาวิชาการกันสักหน่อย ส่วนประกอบทางเคมีคือ คาร์บอนประมาณ 0.28% , ฟอสฟอรัสประมาณ 0.058% และ กำมะถันประมาณ 0.058% 

ที่มา http://unchain.exteen.com/20100321/entry

โควท

ความคิดเห็น

วันที่: Fri Apr 26 13:42:22 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Replys: 0   Pages: 1/0

Tel: tel.02-106-5190 และ 1107, fax.02-106-5197 | Email: saleadmin@vpsteelthai.com